23
มิ.ย.
10

การจำแนกดิน ในระบบ ASTM (กลุ่ม2/10)

 Material: Unified Soil Classification System ASTM D-2487
Unified Soil Classification System ASTM D-2487,Sieve Analysis

              ในทางอุดมคติเท่านั้นในการทำ piping stress analysis underground pipeline นั้นจะต้องได้คุณสมบัติของดินจาก geotechnical engineer เพื่อที่จะสามารถใส่ค่า K1, P1, & K2 ลงใน piping model (ค่าเหล่านี้ก็ไม่ได้แสดงใน soil report ) ค่าที่แสดงใน laboratory tests และ รายงานในภาคสนามจะมีค่าดังนี้ครับ

  unit weight (g)

  water content

  relative compaction

  undrained shear strength (Su)

  cohesion (c)

  angle of internal friction (f)

  angle of friction of soil against pipe face (d)
            คุณสมบัติเหล่านี้สามารถนำไปสร้างความสัมพันธ์ restraint force-displacement สำหรับดินรอบๆท่อที่ฝังใต้ดิน เป็นการที่ดีที่ piping designer มีความเข้าใจคุณสมบัติของดิน และสามารถประเมิณหาค่าที่ต้องการได้ด้วยตนเอง ดังนั้นอย่างแรกเลย piping designer จะต้องสามารถจําแนกประเภทของดินทางด้านวิศวกรรม โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ตามมาตรฐาน Unified Soil Classification System ASTM D-2487 ซึ่งนิยมใช้กับงานฐานรากทั่วไป และ underground pipeline
การจําแนกดินตามมาตรฐานนี้ จะทําการจําแนก ดินเสียก่อนว่าเป็นดินชนิดเม็ดหยาบ หรือดินชนิดเม็ดโดยอาศัยข้อมูลจากทดสอบ Sieve Analysis โดยดูว่ามีดินค้างอยู่ บนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 200 อยู่เท่าไร
ถ้ามีดินค้างอยู่บนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 200 เกิน 50 % by weight ถือว่าเป็นดินจําพวกเม็ดหยาบ Coarse Grained Soils ดินจําพวกนี้ได้แก่ Gravelly Soils , Sandy Soils
ถ้ามีดินค้างอยู่บนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 200 น้อยกว่า 50 % by weight ถือว่าเป็นดินจําพวกเม็ดละเอียด Fine Grained Soils ดินจําพวกนี้ได้แก่ ตะกอนทราย (Silt ) หรือดินเหนียว(Clay )

เราสามารถทราบ ชนิดของดินโดยดูจาก อักษรตัวหน้าของดิน เช่น

  กรวด ( Gravel ) อักษรตัวหน้าก็จะเป็น “G” มีดินค้างอยู่ บนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 4 เกิน 50 %

  ทราย ( Sand ) อักษรตัวหน้าก็จะเป็น “S” มีดินค้างอยู่บนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 4 น้อยกว่า50 %

  ตะกอนทราย (Silt) อักษรตัวหน้าก็จะเป็น “M

  ดินเหนียว ( Clay ) อักษรตัวหน้าก็จะเป็น “C

  ดินมีสารอินทรีย์ปน(Organic) “O

  Peat อักษรตัวหน้าก็จะเป็น “Pt



Gravel , G

Sand , S

Silt , M

 
 

Clay , C

Organic , O

 

ส่วนอักษรที่สอง จะบอกลักษณะของดิน ซึ่งหาได้จากการกระจายของเม็ดดินและการทดสอบหาค่าความข้นเหลวของเม็ดดิน( Atterberg’s Limit ) เช่น

  ดินเม็ดหยาบมีขนาดเม็ดคละกันดี ( Well graded) ตัวอักษรที่สองเป็น “W

  ดินเม็ดหยาบมีขนาดเม็ดคละกันไม่ดี ( Poorly graded ) ตัวอักษรที่สองเป็น “P

  ดินเม็ดละเอียดที่มีพลาสติกซิตี้สู ( High Plastic ) ตัวอักษรที่สองเป็น “H

  ดินเม็ดละเอียดที่มีพลาสติกซิตี้ต่ำ ( Low Plastic ) ตัวอักษรที่ สองเป็น “L

การทดสอบ Grain Size Analysis
            เป็นการทดสอบหาขนาดเม็ดของดินและการกระจายขนาดของเม็ดดิน (Grain Size Distribution) เพื่อประโยชน์ในการจําแนกดิน (Soil Classification) และเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของดิน การทดสอบ สามารถแบ่งเป็น 2 วิธี ขึ้นอยู่กับขนาดเม็ดดิน ได้แก่

            1 สําหรับดินที่มีเม็ดดินหยาบ การทดสอบทําโดยวิธีร่อนด้วยตะแกรง (Sieve Analaysis หรือMechanical analysis) ทําโดยนําดินที่ต้องการหาขนาดใส่ลงในตะแกรงมาตรฐาน และเขย่า ตะแกรงที่ใช้ร่อนมีหลายขนาด ตั้งแต่เบอร์ 4 (ขนาด 4.75 มม.) ถึง เบอร์ 200 (ขนาด 0.075 มม.) โดยเรียงตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็กสุด เมื่อร่อนและนํามาชั่งก็จะคํานวณหาส่วนที่ค้างหรือผ่านตะแกรงขนาดต่างๆ เป็นเปอร์เซนต์กับ น้ำหนักทั้งหมด

             2. สําหรับดินเม็ดละเอียด ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 0.075 มม. เช่น ดินเหนียว (Clay) ดินเหนียวปนตะกอนทราย(Silty Clay) หรือดินตะกอนทราย (Silt) ใช้วิธีตกตะกอน (Hydrometer Analysis) ทําโดยการนําดินมาละลายน้ำแล้วใส่ลงไปในหลอดแก้วให้เม็ดดินหรือตะกอนกระจัดกระจายแขวนตัวลอยอยู่ในน้ำ แล้วใช้ไฮโดรมิเตอร์วัดอัตราการตกตะกอน หรือวัดค่าความถ่วงจําเพาะของเม็ดดินที่แขวนลอยอยู่ในน้ำตามความลึกที่กําหนด ที่ช่วงเวลาต่างๆ โดยอาศัย Stoke’s Law ที่ว่า ความเร็วของการตกตะกอนจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเม็ดดิน ความ หนาแน่นของของเหลว ความหนืดของของเหลวและขนาดของเม็ดดิน กล่าวคือ ดินเม็ดใหญ่จะตกตะกอน

ชอขอบคุณที่มา:http://www.4uengineer.com/modules.php?name=News&file=article&sid=286

ข้อมูลเพิ่มเติม:http://www.gerd.eng.ku.ac.th/Cai/Ch06/ch061_Pre.htm

                       http://www.cte.kmutt.ac.th:8080/civillabpro/soillab6.htm

                       http://www.denichsoiltest.com/Soil-Classification.html


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

0 Responses to “การจำแนกดิน ในระบบ ASTM (กลุ่ม2/10)”



  1. ให้ความเห็น

ใส่ความเห็น


มิถุนายน 2010
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930